วิธีปลูกต้นข้าวสาลี, ปลูกข้าวสาลี, เพาะต้นข้าวสาลี, ต้นข้าวสาลีอ่อน

วิธีปลูกต้นอ่อนข้าวสาลี

อุปกรณ์ การปลูก

1.เมล็ดข้าวสาลี พันธุ์ ฝาง-60

2.กะละมัง  ขนาด 26 ซ.ม  ( ใช้แช่เมล็ดข้าว )

3.ตะกร้าพลาสติก  ขนาด 24 ซ.ม.  ( ใช้แช่เมล็ดข้าว )

4.ถาดมีรูระบายน้ำ  หรือตะกร้าพลาสติก  ( ใช้เป็นถาดเพาะ)

5.บัวลดน้ำ

6.กระบอกฉีดน้ำ  ( แบบอัดลม )

7.วัสดุเพาะ  แกลบดำ  และ ขุยมะพร้าว

 

 

วิธีเพาะ

ขั้นตอนที่ 1  :  แช่เมล็ดข้าวสาลี  8  ช.ม.

                                                                                                        

ตัวอย่าง  ถาดเพาะขนาด  30 x 30 ซ.ม. ใช้เมล็ดข้าวสาลี  75  กรัม

(ในรูปประกอบ ด้านล่าง ถาด ขนาด 30x60 ซม. ใช้เมล็ดข้าว 150 กรัม )

ใส่น้ำลงในกะละมังเกือบๆเต็ม  เทเมล็ดข้าวสาลีลงไป  ช้อนเมล็ดที่ลอยน้ำออกทิ้ง  ล้างเมล็ดข้าวให้สะอาด  2 – 3  น้ำ

ต่อไปใส่น้ำที่ไม่มีคลอรีนให้ท่วมเมล็ดข้าว  แช่เมล็ดข้าวนาน  8 ช.ม.

 

ขั้นตอนที่ 2  :  สร้างการงอก  ใช้เวลา  24 ช.ม.

     

หลังจากแช่น้ำครบ 8 ช.ม. เทน้ำทิ้ง  และ ล้างเมล็ดข้าวให้สะอาดอีกครั้ง  ใช้ผ้าชุบน้ำเปียกๆ  คลุมลงบนเมล็ดข้าว

นำกะละมังข้าวไปวางไว้ที่ๆมีแสงน้อยๆ

ขั้นตอนนี้สำคัญมาก  เมล็ดข้าวจะงอกดี สม่ำเสมอและงอกพร้อมกันทุกเมล็ด  ต้องรักษาความชื้นของเมล็ดข้าวไว้ตลอดเวลา  อย่าปล่อยให้เมล็ดข้าวแห้ง  ช่วงเวลา 24  ช.ม.นี้ควรจะนำไปลาดน้ำให้เมล็ดข้าวเปียก  1 ถึง 2  ครั้ง

และผ้าชุบน้ำคลุมไว้เช่นเดิม  เมื่อครบ  24 ช.ม. เมล็ดข้าวจะมีรากงอกออกมา ยาวประมาณ  1 ม.ม.  เป็นอันว่าตอนนี้ก็พร้อมแล้วที่จะนำไปลงถาดเพาะ

 

ขั้นตอนที่ 3  :  เตรียมวัสดุเพาะ

     

ใช้แกลบดำ ผสม ขุยมะพร้าว ในอัตราส่วน แกลบดำ 2 ส่วน  ขุยมะพร้าว 1 ส่วน  คลุกเคล้าให้เช้ากัน

หากคุณหาได้เพียงอย่างเดียว  เช่น จะใช้แกลบดำอย่างเดียวก็ได้   ใช้ขุยมะพร้าวอย่างเดียวก็ได้  ถ้าหาไม่ได้ทั้ง 2 อย่าง  อาจจะใช้ ดินเป็นวัสดุเพาะ

นำวัสดุเพาะลงถาดให้เรียบร้อย  ใส่ลงไปเกือบๆเต็มขอบถาด

 

ขั้นตอนที่ 4:  ลงถาดเพาะ

        

นำเมล็ดข้าว ( จากขั้นตอนที่ 2 )  โรยลงถาดให้สม่ำเสมอทั่วทั้งถาด  โรยเมล็ดข้าวหมดแล้ว  ให้ใช้วัสดุเพาะโรยทับลงบนเมล็ดข้าวให้ทั่วสม่ำเสมอ ( ความหนาประมาณ ½ ซ.ม.)

นำถาดเพาะเปล่าๆอีกใบมาปิดด้านบนคลุมไว้  และใช้บัวลดน้ำ ลดน้ำให้ชุ่ม

 

ขั้นตอนที่ 5 :  รอการงอกต้นอ่อน  ใช้เวลา 36 ช.ม.

      

นำถาดเพาะไปวางไว้ที่ร่ม  ไม่มีแสงแดดส่อง  ปิดฝาไว้เช่นนั้นไม่ต้องลดน้ำ  หลังจากครบ 36  ช.ม. ให้เปิดถาดที่คลุมออกไป  จะเห็นต้นอ่อนข้าวงอกขึ้นมาประมาณ 1 ซ.ม. ต้นข้าวจะมีสีเหลืองๆ  นำถาดไปวางไว้ที่ๆมีแสงสว่าง  แต่ห้ามโดนแดด ( โดนแดดต้นข้าวจะไม่โต )  เวลาผ่านไป 2-3 ช.ม. ต้นข้าวก็เริ่มมีสีเขียว

 

ขั้นตอนที่ 6 : ดูแล การให้น้ำ  ใช้เวลา 5-6 วัน 

  

การให้น้ำ (น้ำที่ไม่มีคลอรีน)  ใช้กระบอกฉีดพ่นแบบอัดลมจะสะดวกมาก ให้น้ำ  เช้า - เย็น  วันละ 2 ครั้ง  ฉีดพ่นน้ำพอชุ่มชื้นไม่ต้องแฉะมาก  สังเกตุ ถ้าให้น้ำเพียงพอ จะเห็นหยดน้ำที่ปลาบใบข้าวในเวลาเช้าๆ สวยงามมากๆ

ต้นข้าวโตเร็วมากๆ  ประมาณวันละ 1 ซ.ม. เมื่อต้นข้าวมีอายุครบ 7 วัน นับจากวันที่ลงเมล็ดข้าวในถาดเพาะ  คุณสามรถตัดไปคั้นน้ำได้ครับ

แนะนำให้ตัดหมดทั้งถาด  และแบ่งใส่ถุงพลาสติกเป็นถุงๆ ตามปริมาณที่ใช้คั้นแต่ละครั้ง  คุณสามารถแช่ตู้เย็นไว้ได้ 4 – 5 วัน  ไม่ควรคั้นน้ำไปแช่ไว้ในตู้เย็นเป็นเวลานานๆ  จะเสียคุณค่าทางสารอาหาร  น้ำคั้นต้นข้าวสาลีควรดื่มภายใน 15 นาที หลังจากการคั้นเสร็จ และดื่มน้ำสะอาด ตาม  1 แก้ว

จบขั้นตอนการเพาะต้นอ่อนข้าวสาลี หรือ วีทกราส เพียงเท่านี้ 

         ติดต่อสอบถามข้อมูลสินค้าของเว็บไซต์ได้ตามช่องทางต่างๆ ดังนี้ครับ

 id; suriyajuicer  หรือ กด add.ง่ายๆ คลิกเลย > http://line.me/ti/p/suriyajuicer

 

       QR Code   

 

 

ปัญหา และ การแก้ไข

1.เมล็ดข้าวไม่งอก หรืองอกน้อย

2.มีเชื้อรา

ปัญหาที่1 เมล็ดข้าวไม่งอก หรืองอกน้อย อาจเนื่องจากความชื้นไม่เพียงพอช่วงบ่มเมล็ดให้งอก หรือแช่น้ำไม่ถึง 8 ช.ม. ต้องคอยดูอย่าให้เมล็ดข้าวแห้ง  รักษาความชื้นตลอดเวลา

     ความสดใหม่ของเมล็ดข้าวมีผลต่อเปอร์เซ็นการงอก เมล็ดข้าวที่ออกมาใหม่ต้นฤดูเปอร์เซ็นการงอกจะมีสูงถึง 95 %   (งอก 100 % ไม่มีนะครับ )  เปอร์เซ็นความงอกจะลดลงไปตามวันเวลา ( เป็นไปตามธรรมชาติ )เปอร์เซ็นการงอก 85 – 90 % ก็ยังถือว่าใช้ได้ครับ

      ตัวมอดกัดกินเมล็ดข้าวทำให้เมล็ดไม่งอก ไม่มีวิธีป้องกัน  เนื่องจากเมล็ดข้าวสาลีที่นำมาเพาะต้นอ่อน เพื่อคั้นน้ำนั้น จะไม่ผสมยาฆ่าแมลง  ป้องกันได้แค่ แพ็คเป็นถุงสูญญากาศแต่ก็ไม่ 100 % นะครับ  หลังจากเปิดถุงแล้วไม่ควรเก็บไว้นานเกินไป  ต้องรีบใช้  ถ้าเก็บไว้นานๆก็จะเกิดมอดกัดกินเมล็ดข้าวจะเห็นเป็นขุยๆจำนวนมากอยู่ที่ก้นถุง  อย่างนี้อย่านำมาเพาะเอาไปให้นกกินได้ ไม่ต้องทิ้ง

ปัญหาที่ 2  เชื้อรา  เชื้อราเกิดจากเมล็ดข้าวที่ไม่งอกจะเกิดการบูดเน่า  มีแมลงหวี่ แมลงวันมาตอมมากมาย  จะมีเชื้อราเป็นหย่อมๆ  บางทีก็มีทั้งถาดเลย เนื่องจากเมล็ดข้าวที่เน่าเสียมีมาก  ถ้าจะไม่ให้มีเชื้อราเลยก็ต้องเก็บเมล็ดที่ไม่งอกออกให้หมด  แต่คงทำอย่างนั้นไม่ไหว

      วิธีแก้ไข  ควรเลือกเมล็ดข้าวที่เปอร์เซ็นความงอกสูงๆ  เท่าที่จะหาได้ในเวลานั้นๆ  แต่ถึงอย่างไรก็ต้องมีเมล็ดที่ไม่งอกอยู่ดี  ถ้ามีน้อยๆก็โอเครแล้วครับ

      แก้ไขได้อีกทาง คือหลังจากที่โรยเมล็ดลงถาดเพาะเรียบร้อยแล้ว  ให้ใช้วัสดุเพาะ  เช่น แกลบดำ  หรือ ขุยมะพร้าวก็ได้เช่นกัน  นำมาโรยทับลงไปบนเมล็ดข้าวให้ทั่วทั้งถาด   เพื่อปกคลุมเมล็ดข้าวที่เน่าเสียไว้ใต้แกลบดำ หรือขุยมะพร้าว  ป้องกันแมลงหวี่มาตอม  ถ้ามีเชื้อราๆก็จะอยู่ใต้แกลบดำ   เวลาที่เราตัดต้นข้าวตรงไหนมีเชื้อราเราจะเว้นไว้ไม่ตัด  หรือตัดให้สูงขึ้นอีกนิดให้พ้นเชื้อราก็ได้  ตัดต้นข้าวเสร็จแล้วนำไปล้างน้ำให้สะอาดอีกครั้งก่อนนำไปคั้นน้ำนะครับ

3.โรคบางอย่างรบกวน

     บางครั้ง อาจมีโรค ปลายใบเหี่ยวเป็นสีน้ำตาล และมีจุดสีน้ำตาลตามใบข้าว ส่วนใหญ่จะพบที่ช่วงกลางๆใบข้าว จะเกิดโรคนี้ตั้งแต่ข้าวอายุ 3วันเป็นต้นไป

ควรตรวจดูทุกวัน ถ้าพบเห็นก็ให้ถอนต้นข้าวที่เกิดโรคทิ้งไป 

รูปต้นข้าวที่เป็นโรคจุดสีน้ำตาล 

 

เครื่องคั้นต้นอ่อนข้าวสาลีแบบมือหมุน รุ่น Lexen GP27

 

เครื่องคั้นต้นอ่อนข้าวสาลี แบบไฟฟ้า รุ่น Lexen GP62

 

  

      

 

Visitors: 147,436